Wednesday, December 29

Phro


ประเภทมีอิติหาส¹ เป็นที่ห้า ซึ่งมานพเอง แม้ทั้งอาจารย์ของเขาก็ไม่เห็นนัย
ด้วยตนเอง.
พระเถระแม้ตามปกติก็เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท และบัดนี้ก็ได้บรรลุ
ปฏิสัมภิทา เพราเพราะเหตุนั้น ในการแก้ปัญหาเหล่านั้น จึงไม่หนักสำหรับท่าน,
ดังนั้น ท่านจึงแก้ปัญหาเหล่านั้น ในขณะนั้นนั่นเอง แล้วได้พูดกะมานพว่า
ดูก่อนมานพ ท่านถามเรามากพอแล้ว คราวนี้แม้เราก็จะถามปัญหากะเธอสัก
ข้อหนึ่ง เธอจักพยากรณ์แก่เราไหม ?
มานพเรียนว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ! จงถามเถิด ขอรับกระผม
จักแก้.
[พระสิคควเถระถามปัญหากับมานพ]
พระเถระ จึงถามปัญหานี้ ในจิตตยมกว่า จิตของบุคคลใดเกิดขึ้นอยู่
ไม่ดับ จิตของบุคคลนั้น จักดับ ไม่เกิดขึ้น ก็อีกอย่างหนึ่ง จิตของบุคคลใด
จักดับ ไม่เกิดขึ้น จิตของบุคคลนั้น เกิดขึ้นอยู่ไม่ดับ² ? ดังนี้.
มานพ ไม่สามารถจะกำหนด (ข้อปัญหา) ทั้งเบื้องบนหรือเบื้องต่ำได้
จึงเรียนถามว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ! นี้ชื่อมนต์อะไร ? พระเถระ นี้ชื่อ
พุทธมนต์ มานพ !
มานพ. ท่านผู้เจริญ ! ก็ท่านอาจให้พุทธมนต์นี้ แก่กระผมได้ไหม ?
พระเถระ. อาจให้แก่บุคคลผู้ถือบรรพชาอย่างที่เราถือ มานพ !
[ติสสมานพขออนุญาตมารดาบิดาบวชเพื่อเรียนมนต์]
ต่อจากนั้น มานพเข้าไปหามารดาบิดาแล้วพูดว่า บรรพชิตรูปนี้
ย่อมรู้พุทธมนต์ และท่านก็ไม่ให้แก่ผู้ที่ไม่บวชอยู่ในสำนักของท่าน กระผม
จักบวชในสำนักของท่านนั่น แล้วเรียนเอามนต์.

¹ อิติหาส ชื่อหนังสือว่าด้วยพงศาวดารยืดยาว มีภารตยุทธเป็นต้น อันกล่าวประพันธ์ไว้แต่กาลก่อน ² อภิ. ยมก. ๓๙/๑

Insert Table

   🔠  ₁₇₀

No comments:

Blog Archive

Phra Ratana Kosin Sok Thi 236 —239