กปฺปติ อาวาสกปฺโป กัปปะว่า จะแยกกันทำสังฆกรรมมี
อุโบสถเป็นต้น ในเสนาสนะต่างแห่ง
ในสีมาเดียวกัน ก็ควร,
กปฺปติ อนุมติกปฺโป กัปปะว่า เมื่อตั้งใจว่าจะถือเอาอนุมัติ
ในเวลาที่พวกภิกษุผู้ยังไม่มา แล้ว
เมื่อเธอเหล่านั้นยังไม่ทันมา สงฆ์
เป็นวรรคจะทำกรรมนั้น
ภายหลัง ก็ควร,
กปฺปติ อาจิณฺณกปฺโป กัปปะว่า ข้อที่อาจารย์และอุปัชฌาย์
เคยประพฤติมา ย่อมควร,
กปฺปติ อมถิตกปฺโป กัปปะว่า ภิกษุฉันแล้ว ห้ามโภชนะ
แล้ว ฉันนมสดที่ยังไม่เป็นทธิ ซึ่ง
ไม่เป็นเดน ย่อมควร,
กปฺปติ ชโลคึ ปาตุ ภิกษุจะดื่มสุราอย่างอ่อน ที่ยังไม่ถึง
เป็นน้ำเมา ก็ควร,
กปฺปติ อทสกํ นิสีทนํ ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชาย ก็ควร,
กปฺปติ ชาตรูปรชตํ ทองและเงินควรแก่ภิกษุ¹.
พระราชาทรงพระนามว่า กาฬาโศก ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้า
สุสูนาค ได้ทรงเป็นฝักฝ่ายของพวกภิกษุวัชชีบุตรเหล่านั้นแล้ว.
[พระยสเถระได้ทราบเรื่องภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ]
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระยสกากัณฑบุตร เที่ยวจาริกไปในวัชชี
ชนบท ได้สดับว่า ข่าวว่าพวกภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองไพศาลีแสดงวัตถุ ๑๐
¹วิ. จุลฺ. ๗/๓๙๖.
No comments:
Post a Comment