Sunday, January 16

Thammachat


พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้ในเหตุ ชื่อว่าธรรมปฏิสัมภิทา.¹ ผลแห่งเหตุ
ชื่อว่าอรรถ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ตรัสไว้ว่า ความรู้ในผล
แห่งเหตุ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา.² บัญญัติ อธิบายว่า การเทศนาธรรมตาม
ธรรม ชื่อว่าเทศนา. การตรัสรู้ชื่อว่าปฏิเวธ. ก็ปฏิเวธนั้นเป็นทั้งโลกิยะและ
โลกุตระ คือความรู้รวมลงในธรรมตามสมควรแก่อรรถ ในอรรถตามสมควร
แก่ธรรม ในบัญญัติตามสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยวิสัยและโดยความไม่
งมงาย.³
บัดนี้ ควรทราบคัมภีร์ทั้ง ๔ ประการ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ แต่ละ
ปิฎก เพราะเหตุที่ธรรมชาตธรรมชาติหรืออรรถชาตอรรถชาติใด ๆ ก็ดี อรรถที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพึงให้ทราบย่อมเป็นอรรถมีหน้าเฉพาะต่อญาณของนักศึกษาทั้งหลาย
ด้วยประการใด ๆ เทศนาอันส่องอรรถนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้น ๆ นี้ใด
ก็ดี ปฏิเวธคือความหยั่งรู้ไม่วิปริตในธรรม อรรถและเทศนานี้ใดก็ดี ใน
ปิฎกเหล่านี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธทั้งหมดนี้ อันบุคคลผู้มี
ปัญญาทรามทั้งหลาย มิใช่ผู้มีกุศลสมภารได้ก่อสร้างไว้ พึงหยั่งถึงได้ยากและ
ที่พึ่งอาศัยไม่ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้นหยั่งถึงได้ยาก
ฉะนั้น. ก็พระคาถานี้ว่า
บัณฑิตพึงแสดงความต่างแห่งเทศนา
ศาสนา กถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ
ในปิฎกเหล่านั้นตามสมควร ดังนี้

¹อภิ. วิ. ๓๕/๓๙๙.² ³. สารตฺถทีปนี. ๑/๑๒๒. อธิบายว่า ในความตรัสรู้ เป็นโลกิยะและโลกุตระนั้น ความหยั่งรู้เป็นโลกิยะ มีธรรมมีอวิชชาเป็นต้นเป็นอารมณ์ มีสังขารมีอรรถเป็นต้นเป็นอารมณ์ มีการให้เข้าใจธรรมและอรรถทั้งสองนั้นเป็นอารมณ์ ชื่อว่าความรู้รวมลงในธรรมเป็นต้น ตามสมควรแก่อรรถเป็นต้นโดยวิสัย. ส่วนความตรัสรู้เป็นโลกุตระนั้นมีนิพพานเป็นอารมณ์ สัมปยุตด้วยมรรคมีการกำจัดความงมงายในธรรม อรรถและบัญญัติตามที่กล่าวแล้วชื่อว่าความรู้รวมลงในธรรมเป็นต้นตามสมควรแก่อรรถเป็นต้น โดยความไม่งมงาย.

Insert Table

   🔠  ₁₁₆

No comments:

Blog Archive

Phra Ratana Kosin Sok Thi 236 —239