อภิศัพท์นี้มาในอรรถว่าเจริญ ในคำเป็นต้นว่า ทุกขเวทนากล้า ย่อมเจริญ
แก่เรา¹ ดังนี้. มาในอรรถว่ามีความกำหนดหมายในคำเป็นต้นว่า ราตรี
เหล่านั้นใด อันท่านรู้กันแล้ว กำหนดหมายแล้ว ดังนี้². มาในอรรถว่าอัน
บุคคลบูชาแล้ว ในคำมีว่า พระองค์เป็นพระราชาผู้อันพระราชาบูชาแล้ว
เป็นจอมมนุษย์³ เป็นอาทิ. มาในอรรถว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว ในคำ
เป็นอาทิว่า ภิกษุเป็นผู้สามารถเพื่อจะแนะนำเฉพาะธรรม เฉพาะวินัย⁴ ท่าน
อธิบายว่า เป็นผู้สามารถจะแนะนำในธรรมและวินัย ซึ่งเว้นจากความปะปน
กันและกัน. มาในอรรถว่ายิ่ง ในคำเป็นต้นว่า มีวรรณะงามยิ่ง ดังนี้⁵.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทั้งหลายในพระอภิธรรมนี้ มีความเจริญบ้าง
โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ⁶ ภิกษุมีจิตประกอบ
ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่⁷. ชื่อว่ามีความกำหนดหมายบ้าง เพราะ
เป็นธรรมควรกำหนดได้ ด้วยกรรมทวารและปฏิปทาที่สัมปยุตด้วยอารมณ์
เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า จิต ... ปรารภอารมณ์ใด ๆ เป็นรูปารมณ์ก็ดี
สัททารมณ์ก็ดี⁸ อันบุคคลบูชาแล้วบ้าง อธิบายว่า ควรบูชา โดยนัยเป็นต้นว่า
เสขธรรม อเสขธรรม โลกุตรธรรม⁹. ชื่อว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดบ้าง เพราะ
เป็นธรรมที่ท่านกำหนดตามสภาพ โดยนัยเป็นต้นว่า ในสมัยนั้น ผัสสะมี
เวทนามี¹⁰. ตรัสธรรมทั้งหลายที่ยิ่งบ้าง โดย
อัปปมาณธรรม¹¹ อนุตตรธรรม¹² ด้วยเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดใน
อรรถาธิบายคำแห่งพระอภิธรรมนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า
¹
๔/๑๔๒. ⁵
⁸อภิ. วิ. ๓๕/๓๖๙. ⁹อภิ. สํ. ๓๔/๓ ¹⁰อภิ. สํ. ๓๔/๙. ¹¹อภิ. สํ. ๓๔/๑
¹²อภิ. สํ. ๓๔/๗
No comments:
Post a Comment