ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งหลายที่มีความ
เจริญ ที่มีความกำหนดหมาย ที่บุคคลบูชา
แล้ว บัณฑิตกำหนดตัด และที่ยิ่ง อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระอภิ-
ธรรมนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อภิธรรม.
ส่วนปิฎกศัพท์ใด เป็นศัพท์ที่ไม่พิเศษในพระวินัย พระสูตรและ
พระอภิ
อันบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้อรรถแห่งปิฎก
กล่าวว่า ปิฏก โดยอรรถว่าปริยัติและภาชนะ
ศัพท์ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้น บัณฑิตพึงให้
ประชุมลงด้วยปิฎกศัพท์นั้น แล้วพึงทราบ.
[ ปิฎกเปรียบเหมือนตะกร้า]
จริงอยู่ แม้ปริยัติ ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า อย่าเชื่อ
โดยการอ้างตำรา¹ แม้ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำ
เป็นต้นว่าลำดับนั้น บุรุษถือจอบและตะกร้ามา² เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
ทั้งหลายผู้รู้อรรถแห่งปิฎกกล่าวว่า ปิฎก โดยอรรถว่าปริยัติและภาชนะ.
บัดนี้ พึงทราบอรรถแห่งบาทคาถาว่า เตน สโมธาเนตฺวา ตโยปิ
วินยาทโย เญยฺยา โดยนัยอย่างนี้ ศัพท์แม้ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้นเหล่านั้น
อันบัณฑิตพึงย่อเข้าเป็นสมาสกับด้วยปิฎกศัพท์ซึ่งมีอรรถเป็น ๒ อย่าง นี้นั้น
แล้ว พึงทราบอย่างนี้ว่า วินัยนั้นด้วยชื่อว่าปิฎกด้วย เพราะเป็นปริยัติ และ
เพราะเป็นภาชนะแห่งเนื้อความนั้น ๆ เหตุนั้นจึงชื่อว่า วินัยปิฎก, สูตรนั้นด้วย
¹องฺ จตุกฺก. ๒๑/๒๕๗ ²สํ. นิทาน. ๑๖/๑๐๖.
No comments:
Post a Comment